ผู้ต้องห้ามรับมรดกตามพินัยกรรม

ฎีกาที่ 2102/2551

         พินัยกรรม เอกสารหมาย ล.2 ที่จำเลยอ้างว่านายวินัยได้ทำพินัยกรรมยกบ้านพร้อมที่ดินและทรัพย์สินในบ้าน ทุกอย่างให้แก่จำเลยตกเป็นโมฆะหรือไม่ โดยจำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในพินัยกรรมในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้ลงชื่อในฐานะ เป็นพยานในพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง อีกทั้งพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 เป็นพินัยกรรมแบบที่นายวินัยผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับซึ่งตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 ไม่ได้บัญญัติว่าต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม และจำเลยก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมในขณะที่นายวินัยทำพินัยกรรมเหมือน อย่างพินัยกรรมแบบธรรมดา จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะพยานในพินัยกรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 วรรคหนึ่งพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 จึงเป็นพินัยกรรม
ที่สมบรูณ์ตามกฎหมายนั้น เห็นว่าพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 นั้น มีหลักเกณฑ์สำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือของตนเองเพราะเป็นการทำ พินัยกรรมเองโดยลำพัง ไม่มีผู้อื่นเกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรม กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด ลงวันเดือนปีและลงลายมือชื่อของตนเองด้วยทั้งนี้เพราะแม้ผู้ทำพินัยกรรมได้ ถึงแก่กรรมไปแล้ว หากมีข้อโต้แย้งก็อาจพิสูจน์ลายมือเขียนหนังสือของผู้ทำพินัยกรรมได้ว่า ใช่ลายมือของผู้ทำพินัยกรรมหรือไม่ใช่ซึ่งต่างจากการใช้เครื่องพิมพ์ดีด ถึงแม้ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นคนพิมพ์ข้อความทั้งหมดในพินัยกรรมเองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมหากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าผู้ อื่นเป็นคนพิมพ์หรือพิมพ์ไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมแล้วก็เป็น การยากที่จะพิสูจน์ว่าผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้พิมพ์ข้อความเองทั้งหมดได้ ฉะนั้นการทำพินัยกรรมแบบเขียนเองจึงใช้พิมพ์ดีดไม่ได้เลย ไม่ว่าจะพิมพ์ดีดทั้งหมดโดยผู้ทำพินัยกรรมเองหรือพิมพ์ดีดเฉพาะบางตอนหรือ เฉพาะข้อความที่กรอกลงในช่องว่างก็ตาม ดังนั้น เมื่อพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 นายวินัยผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือเขียนของตนเอง แต่กลับใช้วิธีพิมพ์ดีดแทนนั้นจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบขัดต่อบท บัญญัติแห่งมาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 อีกทั้งจะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาที่มีพยานรู้เห็นการทำพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1656 ก็ไม่ได้เพราะมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันซึ่ง พยานสองคนนั้นก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะ นั้นเช่นกัน แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่านายวินัยลงชื่อทำพินัยกรรมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2533 แต่นางบุญช่วยโจทก์และนายโสภณผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานระบุลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 จึงเป็นการลงลายมือชื่อเป็นพยานในภายหลัง ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในขณะที่นายวินัยทำพินัยกรรม เป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 อีกเช่นกัน ดังนั้น พินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นแบบเขียนเองหรือแบบธรรมดา ย่อมตกเป็นโมฆะทั้งฉบับตามมาตรา 1705 จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 ขึ้นต่อสู้ได้ และกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยลงลายมือชื่อในพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 ในฐานะเป็นพยานหรือเป็นผู้รับพินัยกรรมอีกเพราะไม่มีผลทำให้พินัยกรรมเอกสาร หมาย ล.2 ซึ่งตกเป็นโมฆะทั้งฉบับไปแล้วกลับมามีผลเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ชอบด้วย กฎหมายได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในส่วนนี้ว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ล.2 ข้อความในพินัยกรรมใช้พิมพ์ดีดไม่ใช่ลายมือเขียนจึงไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ แต่เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แต่เนื่องจากจำเลยลงลายมือชื่อในพินัยกรรมดังกล่าวในฐานะพยานด้วยคนหนึ่ง จำเลยจึงต้องห้ามมิให้เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมในส่วนที่ยกทรัพย์ให้แก่จำเลยจึงตกเป็นโมฆะ

         ปล.หากเขียนพินัยกรรมหรือคู่สมรส หรือพยานในพินัยกรรมหรือคู่สมรส เป็นผู้รับทรัพย์มรดกในพินัยกรรม พินัยกรรมฉบับนั้นย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถใช้บังคับได้ ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงต้องกลับไปตกได้แก่ทายาทโดยธรรม   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น