ลูกหลานของพี่น้องผู้ตายได้รับมรดก

ฎีกาที่ 2733/2548

         ผู้ตายไม่มีบุตรและภรรยา บิดามารดาของผู้ตาย ก็ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมถึงนางหลงด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) เมื่อนางหลงถึงแก่กรรมโดยยังมิได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนั้น ทรัพย์มรดกส่วนที่นางหลงจะได้รับก็ตกแก่นายประกอบผู้สืบสันดาน แต่ปรากฏว่านายประกอบถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ทรัพย์มรดกส่วนที่นายประกอบจะได้รับก็ตกแก่ผู้ร้องและนายฉอ้อนผู้สืบสันดาน ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่นายประกอบตามมาตรา 1639 ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในกองมรดกและเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์ มรดก ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 (2) ผู้ร้องและนายฉอ้อนมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เช่นเดียวกับนายเพ็ชรและนางปี่พี่ของนายประกอบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าบุคคลทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายหรือยื่นคำ คัดค้านเข้ามา
ในคดีนี้ ทั้ง ๆ ที่ ผู้ตายถึงแก่กรรมไปก่อนยื่นคำร้องขอถึง 15 ปี ประกอบกับนายฉอ้อนผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นน้องของผู้ ร้องก็มิได้ยื่นคำคัดค้าน ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้และศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711

         ปล.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันถือว่าเป็น "ทายาทลำดับที่ 3"  ทายาทลำดับนี้จะมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกได้ก็ต่่อเมื่อทายาทลำดับที่ 1 คือ บุตรของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีผู้สืบสันดาน  และทายาทลำดับที่ 2 คือ พ่อแม่ของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ไม่มีชีวิตอยู่  กรณีคดีนี้ถึงแม้พี่น้องของผู้ตาย (เจ้ามรดก) จะเสียชีวิตไปก่อนผู้ตาย (เจ้ามรดก) ทรัพย์มรดกก็ยังคงตกทอดได้แก่ ลูกหลานของทายาท (หมายถึง พี่น้องร่วมบิดมารดาเดียวกันกับผู้ตาย (เจ้ามรดก)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น