สาระสำคัญในพินัยกรรม

ฎีกาที่ 9412/2542

        ในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางอ่อนผู้ตายตาม คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1839/2538 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นพินัยกรรมตามคำท้าของคู่ความคดีนี้ นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้วยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้านางอ่อน ดวนใหญ่ ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ที่ดินตาม ข้าพเจ้าขอยกให้แก่แต่เพียงผู้เดียว" และในย่อหน้าที่ 3ตอนท้ายระบุว่า "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ "ถ้อยคำดังกล่าวบุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่านางอ่อนมีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติ ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้นเมื่อนางอ่อนตาย หาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ดังนี้ จึงถือได้ว่านางอ่อน
ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมี คำว่า "เผื่อตาย"ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

        ปล.การทำพินัยกรรมทุกแบบจะต้องมีใจความสาระสำคัญคือ "กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเองเอาไว้" โดยไม่จำเป็นที่จะต้องระบุคำว่า "เผื่อตาย" เอาไว้ในพินัยกรรม  แต่ทั้งนี้เพียงขอให้ได้ใจความว่า "เจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้กับบุคคลใดหลังจากที่ตนเองเสียชีวิต" ก็ย่อมเป็นพินัยกรรมแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น