สามีมีสิทธรับมรดกของภริยา

ฎีกาที่ 2475/2543

         แม้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 821จะเป็นทรัพย์สินที่นางชุมผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสกับผู้ร้องอันเป็นสินส่วน ตัวของนางชุมไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ร้องร่วมกับนางชุมทำมาหาได้ไม่ทำให้ผู้ ร้องเป็นเจ้าของร่วม แต่ผู้ร้องก็เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของนางชุม ซึ่งผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคสอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ จัดการมรดกก็ได้" เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทโดยชอบธรรมผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกได้ หาใช่เฉพาะผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะร้องขอได้ไม่ และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องถูกตัดมิให้รับมรดก ดังนั้นผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกซึ่งย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน ทรัพย์มรดกอยู่แล้ว

         คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริง ว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ และขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าการจัดการมรดกของนางชุมมีเหตุขัดข้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1718 ทั้งทายาทอื่นก็ให้ความยินยอมจึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
         พิพากษากลับ ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางชุม สุยะรินทร์หรือวงค์ราชผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
     
         ปล.สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อภริยาตายสามีย่อมเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งสินสมรส และสินส่วนตัวที่มีมาก่อนสมรส สามีย่อมร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาผู้ตายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น