ขั้นตอนและเงื่อนไขในการยื่นขอประกันตัวจำเลยในคดีอาญา

             เมื่อเราจะต้องถูกฟ้องร้องในคดีอาญาทางหนึ่งที่เราจะได้รับอิสระภาพชั่วคราวก็คือ การขอปล่อยตัวชั่วคราว หรืออาจจะเรียกภาษาชาวบ้านก็คือ การขอประกันตัว  เพื่อให้ทุกคนทราบแนวทางวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องวันนี้จึงนำขั้นตอนในการขอประกันตัวมาให้อ่านกัน  หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน  และต้องขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจากศาลอาญา   

การขอปล่อยชั่วคราว




การขอปล่อยชั่วคราว (การประกันตัว)
จะยื่นขอปล่อยชั่วคราวต่อศาล ได้เมื่อใด
๑. เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาและพนักงานสอบสวนนำตัวมาฝากขังต่อศาล
๒. เมื่อตกเป็นจำเลย 
- โดยพนักงานอัยการนำตัวไปฟ้องศาล
- ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วคดีมีมูล ศาลออกหมายเรียกจำเลยไปสอบคำให้การแก้คดี 
 ๓. เมื่อถูกขังตามหมายศาล เช่น จำเลยที่หลบหนี และศาลออกหมายจับ พยานที่ไม่มาศาลจำเลย ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
หรือกักขัง และคดียังอุทธรณ์ฎีกาได้
 หลักประกันและหลักทรัพย์ที่ใช้ ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
๑. เงินสด
๒. โฉนดที่ดิน น.ส.๓ ก หรือ น.ส.๓
๓. พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน หรือ สลาก ธ.ก.ส.
๔. สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับฝากประจำของธนาคาร
๕. หนังสือค้ำประกันของธนาคาร
๖. หนังสือรับรองของส่วนราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
๗. ใช้ตำแหน่งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือตำแหน่งทนายความ 
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่ว คราว
ในการมาติดต่อขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยผู้ขอประกันจะต้อง ยื่นคำร้อง  ขอปล่อยชั่วคราวพร้อมด้วยเอกสาร 
และหลักประกันประกอบคำร้องดังกล่าว โดยนำต้นฉบับเอกสารพร้อมสำเนามายื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
และเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป ซึ่งเอกสารในการประกอบคำร้องขอปล่อยชั่วคราว มีดังนี้
 ๑. เอกสารเกี่ยวกับผู้ขอประกัน
- บัตรประจำตัวประชาชน 
- ทะเบียนบ้าน
ถ้าหากผู้ขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารต่อไปนี้เพิ่มเติม
- บัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรส
- ทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- ใบสำคัญการสมรส
- หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
ถ้าหากผู้ขอประกันเป็นหม้ายโดยการตายของคู่สมรสหรือการหย่าจะ ต้องแสดงเอกสารต่อไปนี้เพิ่มเติม
- มรณะบัตรของคู่สมรส
- หนังสือสำคัญการหย่า
กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องแสดงหนังสือเดินทางด้วย
๒. เอกสารเกี่ยวกับหลักประกัน
๒.๑ ใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน
- โฉนดที่ดิน
- หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน๖ เดือน รับรองโดยเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
(ระบุชื่อจังหวัด) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนหรือผู้ทำการแทน  กรณีสำนักงานที่ดิน
อำเภอรับรองราคาประเมินจะต้องเป็นนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้ทำการแทนหรือเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ
(ระบุชื่ออำเภอ)
- กรณีเจ้าของโฉนดที่ดินมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นคำร้องขอประกันต้องมีหนังสือ มอบอำนาจโดยนายอำเภอ หรือ
ผู้รักษาราชการแทน ลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราประจำตำแหน่ง  พร้อมทั้งต้องนำบัตรประชาชน และ
ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย
๒.๒ ใช้พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส. เป็นหลักประกัน
- พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส.
- หนังสือรับรองพันธบัตรหรือสลาก
๒.๓ ใช้หนังสือรับรองของส่วนราชการ เป็นหลักประกัน
- หนังสือรับรองจากส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง
๒.๔ ใช้ตำแหน่งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งทนายความเป็นหลักประกัน
(ใช้ประกันได้เฉพาะญาติเท่านั้น)
- หนังสือรับรองตำแหน่งและเงินเดือนจากต้นสังกัด
- บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรทนายความ
หมายเหตุ. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดต้องแสดงสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือน และหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญา
ประกัน หรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันรายอื่นก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย
๒.๕ ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร เป็นหลักประกัน
- หนังสือค้ำประกันของธนาคาร
๒.๖ ใช้สมุดเงินฝากประจำหรือใบรับฝากประจำของธนาคาร เป็นหลักประกัน
- สมุดเงินฝากประจำของธนาคาร หรือใบรับฝากประจำของธนาคาร
- หนังสือรับรองยอดเงิน พร้อมระบุข้อความว่าธนาคารจะไม่ยอมให้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปจนกว่าจะได้รับ คำสั่ง
เปลี่ยนแปลงจากศาลอาญา
การวินิจฉัยสั่ง คำร้องขอปล่อยชั่วคราว ศาลจะพิจารณาข้อเหล่านี้ ประกอบ
๑. ความหนักเบาแห่งข้อหา
๒. พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด
๓. พฤติการณ์แห่งคดีเป็นอย่างไร
๔. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
๕. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
๖. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่
๗. ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบ สวนพนักงานอัยการหรือ โจทก์แล้ว
แต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้
กรณีศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
ผู้ยื่นคำร้องขอประกันมีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ดังนี้
๑. คำสั่งของศาลชั้นต้น ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์
๒. คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา
๓. คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวยืนตามศาลชั้นต้นให้เป็น ที่สุดแต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวใหม่

1 ความคิดเห็น:

  1. รู้ไว้เพื่อประโยชน์กรณีที่จะต้อง เข้าไปเกี่ยวกับคดีความ

    ตอบลบ